วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทวิจารณ์เรื่องของน้ำพุ

เรื่องของน้ำพุ เป็นวรรณกรรมที่แต่งจากเรื่องจริงของ สุวรรณี สุคนธา โดยเป็นเรื่องของ น้ำพุ หรือ วงศ์เมือง นันทขว้าง เมื่อประมาณวันที่ 13 มีนาคม พ..2499 - 28 พฤษภาคม พ..2517 ซึ่งเป็นเรื่องราวของลูกชายผู้เขียนที่ติดยาเสพติด โดยเนื้อเรื่องจะเป็นการกล่าวถึงประวัติบางส่วนและเป็นจดหมายที่น้ำพุเขียนถึงแม่ตอนไปอดยา ที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก ตำบลขุนโขลน อำเภอพระบาท จังหวัดสระบุรี และเรื่องของน้ำพุ ก็ได้นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง น้ำพุ ในปี พ.ศ. 2527 และละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7สี ในปี พ.ศ. 2544

เนื้อเรื่อง
น้ำพุเกิดเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๙ นั้นเป็นชื่อที่เรียกกันเล่นๆในครอบครัว และเลยเรียกจนติดปากมาจนกระทั่งน้ำพุโตเป็นหนุ่ม
           น้ำพุจบชั้นมัธยมที่โรงเรียนศรีวิกรม์ และจากนั้นได้จากไปเรียนที่เชียงใหม่ปีหนึ่ง ที่ไปเรียนก็เพราะน้ำพุตามใจแม่ เมื่อเห็นว่าควรเรียนที่นั่นจะดีกว่า น้ำพุก็ไปตามคำ เมื่อไปเรียนจึงรู้ว่าน้ำพุไม่ได้ชอบวิชาที่เรียนเลย แต่ชอบศิลปะมากกว่า จึงได้ขอแม่มาเรียน ก่อนการเปิดเรียนในปีนั้น น้ำพุได้บวชเณรอยู่เดือนหนึ่ง เมื่อเปิดภาคเรียนแล้วจึงสึกออกมาเรียนต่อ ระหว่างนั้น น้ำพุอยู่ในความอุปการะของป้า ระหว่างปีสุดท้ายของการเรียน น้ำพุเริ่มคบเพื่อนหน้าตาแปลกๆ และพาเข้ามาในบ้านให้แม่เดือดร้อนใจอยู่เสมอ เช่น ริอ่านทำความรู้จักกับเหล้าแห้ง กัญชา และยาเสพติดชนิดต่างๆ
            จากนั้นน้ำพุก็เปลี่ยนใช้ยาที่แรงขึ้นๆ จนกระทั่งถึงเฮโรอีน เมื่อมาสารภาพว่าติดแล้วนั้น น้ำพุกำลังเตรียมตัวจะไปอดที่ถ้ำเขากระบอก มาขอเงินแม่สามร้อยบาท ครั้งแรกตั้งใจจะไปโดยไม่บอก แต่หาเงินเท่าไรก็ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมาสารภาพ ระหว่างนั้นตัวข้าพเจ้าเองต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัด จึงไม่อาจจะไปดูแลน้ำพุที่ถ้ำเขากระบอกได้ เมื่อกลับมาน้ำพุสดใสขึ้นมาก ทำให้ครอบครัวมีความหวังว่าน้ำพุคงจะดีขึ้น มีคนถามข้าพเจ้าเสมอ หลังจากที่น้ำพุได้สิ้นชีวิตแล้วว่า "เลี้ยงลูกยังไงถึงได้ปล่อยให้ติดเฮโรอีน" ทำให้ต้องนิ่ง และไม่อาจจะหาคำตอบได้ แต่ถ้าจะให้ตอบจริงๆแล้ว ก็จะต้องโทษตัวเองว่า "เลี้ยงลูกไม่เป็น" และเมื่อเหตุไรที่ลูกชายสิ้นชีวิตไปเพราะยาเสพติด จึงนำเอามาเปิดเผย เพราะไม่ใช่เรื่องที่ดี น่าจะปิดเป็นความลับไว้มากกว่า
           คำตอบตรงบรรทัดนี้มีอยู่ว่า เพราะไม่อยากให้ลูกของคนอื่นๆ ต้องเสียชีวิตไปเพราะยาเสพติดอีก ถ้าเรื่องของน้ำพุจะเป็นประโยชน์ต่อลูกของใครอื่นได้ ข้าพเจ้าก็จะยินดีอย่างยิ่ง และจะไม่ขออะไรอื่นนอกจากผลกุศลที่ได้เกิดจากสิ่งที่ทำไปแล้วนี้ ขอให้น้ำพุจงไปมีความสุขในโลกใหม่ หรือที่ใดก็ตามที่น้ำพุขึ้น ไปอยู่ เมื่อน้ำพุกลับมาแล้วก็ตั้งใจเรียนดีขึ้น หลังจากที่ได้เสียเวลาไปถึงสองปี ปีแรกที่เชียงใหม่ และปีที่สองไม่ได้สอบที่โรงเรียนช่างศิลป์ เพราะต้องเข้าโรงพยาบาลถึงเดือนครึ่งเนื่องด้วยโรคไวรัสลงตับ เวลาเรียนมีไม่พอสอบ
           วันสุดท้ายที่ได้พบลูกนั้น เป็นคืนวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ตอนเย็นลูกไปหาที่โรงพิมพ์ พาสาวน้อยหน้าตาจุ๋มจิ๋มไปด้วย และบอกว่าขอเงินไปเอากางเกงนักเรียน ได้หยิบเงินให้ไปและสั่งว่าอย่ากลับค่ำ น้ำพุก็รับคำเป็นอันดี เมื่อไปถึงบ้านนั้นประมาณสามทุ่ม น้ำพุมาเปิดประตูรับด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ใครจะรู้ว่านั่นเป็นการเปิดประตูครั้งสุดท้ายของลูก จากนั้นน้ำพุก็เอารูปมาอวดและบอกว่า  "ตั้งแต่เกิดมาน้ำพุยังไม่เคยเขียนรูปได้ดีเท่านี้เลยแม่"
ข้าพเจ้ารับมาดูและชมด้วยใจจริงว่า "ดูดีนี่ แต่ทำไมไม่ใช้ดินสอดำ"
"น้ำพุไม่ชอบสีดำ"
          ข้าพเจ้าขึ้นนอน ยังนอนไม่หลับ ลูกสาวคนโตก็กลับ เธอมีงานที่มหาวิทยาลัยจึงกลับล่าไปมาก น้ำพุออกไปช่วยพี่สาวขนของ มีรูปซึ่งเป็นภาพพิมพ์ และกล่องผ้าเช็ดหน้าที่ทำขายในงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งน้ำพุสนใจมาก เลิกเรียนแล้วก็ไปนั่งดูว่าพี่สาวจะขายผ้าเช็ดหน้าได้สักเท่าไร จะขาดทุนหรือได้กำไร "พี่กบ วันนี้ขายได้เท่าไร" น้ำพุถาม... โผล่หน้าออกมาจากห้องน้ำก่อนที่จะออกไปช่วยพี่สาวขนของลงจากรถ
           เราเอารูปภาพพิมพ์ที่ได้มาจากเพื่อนๆ ของลูก ไปลองติดตามห้องต่างๆ น้ำพุลองติดห้องของพี่ของน้อง เดินไปทั่วบ้านราวกับจะสั่งลา ท้ายสุดนั้นข้าพเจ้าและลูกอีกสองคนเดินลงมาชั้นล่าง...ก็ที่ห้องน้ำพุนั่นแหละ ไม่ทราบว่าลงมาทำไมเหมือนกันทั้งที่ดึกมากแล้ว น้ำพุยังไม่นอน บอกว่าจะทำการบ้าน และพูดกับข้าพเจ้าเป็นคำสุดท้ายว่า
            "แม่...น้ำพุจะซื้อสีน้ำมัน แม่ซื้อให้พุนะ...จะเอามาเขียนรูปติดห้อง แม่ว่าพุเขียนได้ไหม "ได้ซิ" แล้วข้าพเจ้าก็ออกมาจากห้องลูก...ขึ้นนอน น่าแปลกที่นอนไม่หลับเลย จนเกือบจะรุ่งสางจึงหลับไปได้นิดหนึ่ง รู้สึกได้ยินเสียงเหมือนอะไรล้มอยู่ข้างล่าง แต่ก็แว่วๆ เต็มที มานึกได้ทีหลังเสียอีกด้วย
            ก่อนเข้าบ้านในวันนั้น น้ำพุโทรศัพท์ไปหาอ๊อด เพื่อนสนิท ชวนมานอนบ้าน แต่อ๊อดไม่มา คนใช้ไปปลุกข้าพเจ้าตอนเช้ามืดให้ไปดู 'คุณพุ' น้ำพุนอนเหยียดยาวอยู่หน้าเตียง แผ่นเสียงยังหมุนและไฟยังเปิด น้ำพุสวมกางเกงขาสั้นตัวเดียว ถอดเสื้อ เหมือนหัวใจจะขาดตามลูกไปด้วย ได้อุ้มลูกขึ้นรถ ให้พี่สาวน้ำพุขับไปโรงพยาบาล หมอสันนิษฐานว่า น้ำพุหัวใจวาย
แต่ใครๆก็รู้ว่าน้ำพุไปเพราะยาเสพติด น้ำพุอาจจะหวนกลับไปใช้ยา ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้ว่าเป็นยาชนิดใด และยานั้นคงจะรุนแรง จนสามารถทำให้หัวใจน้ำพุหยุดโดยเฉียบพลัน ไม่มีใครช่วยได้....
            ในหนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาสาระที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด ยาเสพติดที่เป็นปัญหาในประเทศไทยจะยกป็นตัวอย่างมาบางส่วน คือ
ฝิ่น(Opium) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมาย ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษที่ร้ายแรง แอลคะลอยด์ในฝิ่นแบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมา และเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรง แอลคะลอยด์ประเภทนี้ทางเภสัชวิทยาถือว่า เป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic) แอลคะลอยด์ที่เป็นสารเสพติดซึ่งออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน (Morphine)
ประเภทที่ 2 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหย่อนคลายตัว ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่า แอลคะลอยด์ในฝิ่นประเภทนี้ไม่เป็นสารเสพติด แต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหย่อนคลายตัว ซึ่งมีปาปาเวอร์รีน (Papaverine) เป็นตัวสำคัญ
ฝิ่นเป็นพืชล้มลุกขึ้นในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 ฟุตขึ้นไป เป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของยาเสพติดร้ายแรง เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคอีน มีการลักลอบปลูกฝิ่นมากทางภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณแนวพรมแดน ที่เรียกว่าสามเหลี่ยมทองคำ
เนื้อฝิ่นได้มาจากยางของผลฝิ่นที่ถูกกรีดจะมีสีขาว เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลง กลายเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียวและรสขม เรียกว่า ฝิ่นดิบ ส่วนฝิ่นที่มีการนำมาใช้เสพ เรียกว่า ฝิ่นสุก ได้มาจากการนำฝิ่นดิบไปต้มหรือเคี่ยวจนสุก
ฤทธิ์ในทางเสพ : ฝิ่นออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย
อาการผู้เสพ : จิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิว       ชีพจรเต้นช้า
โทษทางกฎหมาย : จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
เฮโรอีน(Heroin) เป็นยาเสพติดที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี จากปฏิกิริยาระหว่างมอร์ฟีนกับสารเคมีบางชนิด เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride) หรือ อาเซติลคลอไรด์ (Acetylchloride) หรือเอทิลิดีนไดอาเซเตท (Ethylidinediacetate) โดยนักวิจัยชาวอังกฤษ ชื่อ C.R. Wright ได้ค้นพบวิธีการสังเคราะห์เฮโรอีนจากมอร์ฟีน โดยใช้น้ำยาอาเซติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride) บริษัทผลิตยาไบเออร์ (Bayer) ได้นำมาผลิตเป็นยาออกสู่ตลาดโลก ในชื่อทางการค้าว่า "Heroin" และถูกนำมาใช้ทดแทนมอร์ฟีนอย่างแพร่หลาย หลังจากที่มีการใช้เฮโรอีนในวงการแพทย์มานานถึง 18 ปี จึงทราบถึงอันตราย และผลที่ทำให้เกิดการเสพติดให้โทษที่ร้ายแรง จนปี พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมาย ระบุให้เฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษ ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง
หลังจากนั้นต่อมาอีก 35 ปี คือเมื่อปี พ.ศ. 2502 เฮโรอีนจึงได้แพร่ระบาดสู่ประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยจึงออกกฎหมาย ระบุให้เฮโรอีนและมอร์ฟีนเป็นยาเสพติดให้โทษ
เฮโรอีนออกฤทธิ์แรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 4-8 เท่า และออกฤทธิ์แรงกว่าฝิ่น ประมาณ 30-90 เท่า โดยทั่วไปเฮโรอีนจะมีลักษณะเป็นผงสีขาว สีนวล หรือสีครีม มีรสขม ไม่มีกลิ่น และแบ่งได้เป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกับมอร์ฟีน ได้แก่ เฮโรอีนเบส (Heroin base) ซึ่งมีคุณลักษณะเด่น คือ ไม่ละลายน้ำ ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ เกลือของเฮโรอีน (Heroin salt) เช่น เฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ (Heroin hydrochloride)
เฮโรอีนที่แพร่ระบาดในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
            1. เฮโรอีนผสม หรือเรียกว่าเฮโรอีนเบอร์ 3 หรือไอระเหย เป็นเฮโรอีนที่มีความบริสุทธิ์ต่ำ เนื่องจากมีการผสมสารอื่นเข้าไปด้วย เช่น ผสมสารหนู สตริกนิน ยานอนหลับ กาเฟอีน แป้ง น้ำตาลและอาจผสมสี เช่น สีม่วงอ่อน สีชมพูอ่อน สีน้ำตาล อาจพบในลักษณะเป็นผง เป็นเกล็ด หรืออัดเป็นก้อนเล็ก ๆ มีวิธีการเสพโดยการสูดเอาไอสารเข้าร่างกาย จึงเรียกว่า "ไอระเหย" หรือ "แคป"
2. เฮโรอีนเบอร์ 4 เป็นเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ที่มีความบริสุทธิ์สูง มีลักษณะเป็นผงละเอียด หรือเป็นเม็ดคล้ายไข่ปลา หรือพบในลักษณะอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีสีขาวหรือสีครีม ไม่มีกลิ่น มีรสขม เป็นที่รู้จัดทั่วไปว่า "ผงขาว" มักเสพโดยนำมาละลายน้ำและฉีดเข้าร่างกาย หรือผสมบุหรี่สูบ
อาการผู้เสพ :
1. มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดตามข้อ ปวดสันหลัง ปวดบั้นเอว ปวดหัวรุนแรง
 2. มีอาการจุกแน่นในอก คล้ายใจจะขาด อ่อนเพลียอย่างหนัก หมดเรี่ยวแรงไม่มีอาการหนาว ๆ ร้อน ๆ อึดอัดทุรุนทุราย นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย บางรายมีอาการชักตาตั้ง น้ำลายฟูมปาก ม่านตาดำหดเล็กลง
3. ใจคอหงุดหงิดฟุ้งซ่าน มึนงง หายใจไม่ออก
4. ประสาทเสื่อม ความจำเสื่อม
โทษทางร่างกาย :
1. โทษต่อผิวหนัง เป็นอาการที่ทำให้เส้นเลือดใต้ผิวหนังเกิดอาการขยายตัว เกิดเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ ขึ้นบริเวณผิวหนังและกระตุ้นสารฮิสตามีน (Histamine) และกระตุ้นต่อมเหงื่อด้วย อาการนี้พบเห็นได้ หลังจากผู้เสพเฮโรอีนใหม่ ๆ จะมีอาการคันใต้ผิวหนังจึงแสดงอาการเกา หรือลูบบริเวณใบหน้า ลำคอ นอกจากนี้ผู้เสพจะมีเหงื่อออกมากกว่าปกติและขนลุก
2. โทษต่อลำไส้ ทำให้ลำไส้บิดตัวลงผู้เสพจึงมีอาการท้องผูก
3. กดศูนย์การหายใจ ทำให้หายใจช้ากว่าปกติ ถ้าใช้ในปริมาณมากจะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
4. ทำลายฮอร์โมนเพศถ้าผู้เสพเป็นเพศหญิงจะทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ถ้าผู้เสพเป็นเพศชายจะทำให้ฮอร์โมนเพศลดลง ไม่มีความรู้สึกต้องการทางเพศ
5. ทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรคทางร่างกาย ผู้เสพติดจึงมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย อาการที่พบเห็นภายนอก คือ ผิวหนังมีอาการติดเชื้อเป็นแผลพุพอง ติดเชื้อวัณโรค ติดเชื้อโรคตับอักเสบ นอกจากนี้ผู้เสพติดเฮโรอีนจะทำให้ติดโรคเอดส์ได้ง่ายกว่าปกติ เพราะผู้เสพมักใช้เข็มฉีดยาที่ไม่ได้ทำความสะอาด หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกันจนทำให้ติดเชื้อ HIV
ผู้เสพติดเฮโรอีนที่ติดเชื้อ HIV ก็จะเป็นผู้แพร่ระบาด HIV เนื่องจากการจับกลุ่มใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือในบางครั้งก็มีเพศสัมพันธ์ร่วมกัน โดยไม่ได้ป้องกัน
ฤทธิ์ในทางเสพติด : เฮโรอีนออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกายอย่างรุนแรง
โทษทางกฎหมาย : จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ลักษณะนิสัย
การวิเคราะห์เชิงจิตวิทยามีหลักวิชาเป็นที่ยึดอยู่ แต่จิตวิทยานั้นคือวิชาว่าด้วยพฤติกรรมทางจิตใจของมนุษย์ และพฤติกรรมทางจิตใจนั้นตามธรรมดาย่อมรู้ได้โดยทางวาจาหรือทางการกระทำเท่านั้น เรื่องของน้ำพุ เด็กผู้ชายที่โชคร้ายติดสิ่งเสพติด เพราะสาเหตุที่คิดว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องครอบครัว พ่อกับแม่แยกทางกัน และรวมถึงการคบเพื่อนรูปร่างหน้าตาแปลกๆและมรพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่แย่ เริ่มอยากรู้อยากลอง เช่นเหล้า บุหรี่ กัญชา และสารเสพติดอื่นๆมากมาย และจากนั้นก็เริ่มใช้ยารุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งทุกคนต่างก็รู้ดีว่าสิ่งเสพติดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ ดีไม่ควรยุ่ง และเป็นข้อห้ามทางสังคม เรื่องราวของน้ำพุจะพยายามอธิบายถึงพฤติกรรมของตัวน้ำพุเอง ซึ่งตัวละครหลักของเนื้อเรื่อง และบอกกล่าวถึงคนในครอบครัวของน้ำพุที่มีกันทั้งหมด 5 คน นั่นคือ
คนแรกที่กล่าวถึงก็คือ แม่ แม่ผู้เป็นดั่งเสาหลักของบ้าน ที่คอยทำทุกอย่างเพื่อลูกๆ ไม่ว่าจะเหนื่อยแค่ไหน แม่ก็ยังขยันทำงานเพื่อลูกๆจะได้สุขสบาย และความรักที่มีต่อลูกดังบทหนึ่งที่บอกว่า
แม่จูบน้ำพุเป็นครั้งสุดท้าย น้ำตาของเราไหลปนกัน เมื่อแม่บอกน้ำพุว่า หลับให้สบายนะลูก จากนั้นแม่ก็มีชีวิตอยู่ไปวันๆ เหมือนถูกไขลาน จากวันนั้นจนกระทั่งวันนี้แม่เพิ่งได้รู้จักความทุกข์นั้นใหญ่หลวงหนักหนาเพียงไร
“...นี่เป็นความผิดของแม่คนเดียว ไม่ใช่ของใครเลย และบัดนี้แม่ก็รับกรรมอันนั้นแล้ว หลับให้สบายเถอะนะน้ำพุ ระหว่างเราแม่ลูกไม่ต้องพูดกันถึงชาตินี้ หรือชาติหน้าหรอก น้ำพุอยู่ในหัวใจของแม่ตลอดเวลาอยู่แล้ว…”
คนที่สองคือพี่สาวมีชื่อว่ากบ พี่สาวคนนี้จะมีลักษณะนิสัยที่เจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย และเจ้าระเบียบมาก แต่หากเวลาอารมณ์ดีคือจะค่อนข้างน่าคบเพราะเวลาที่กบอารมณ์ดีนั้นจะชอบพูดคุยสนุกและชอบยิ้ม ซึ่งรอยยิ้มของกบนั้น จะดูมีเสน่ห์มากทำให้ทุกคนหลงใหล
ต่อไปคือน้องสาว ชื่อน้องแดง แดงเป็นคนน่ารักพูดเก่ง คุยเก่ง หน้าค่อนข้างสวย แดงจะมีเพื่อนมากมาย เพราะแดงคุยเก่งน่ารัก ลักษณะบุคลิกเป็นที่เข้ากับเพื่อนได้ง่าย และเพื่อนก็ชอบใจเวลาแดงพูดคุยเรื่องต่างๆในฟัง
น้องสาวคนสุดท้ายชื่อ น้องหนู ซึ่งมีอายุไม่มาก เพิ่งจะ 8-9 ขวบ พฤติกรรมน้องหนูเป็นคนตรงไปตรงมา ไร้เดียงสา มีนิสัยน่ารัก น่าตาน่าเอ็นดู พูดจาน่าฟัง และยังวาดรูปเก่งอีกด้วย ซึ่งดูจากการเขียนจดหมายของน้องหนูในบางตอนที่จะใช้คำแทนตัวเองที่เป็นกันเอง และสนิทสนมอย่างน่าเอ็นดู เช่น
การเขียนขึ้นต้นด้วยคำพูดที่น่ารักน่าฟัง
พุเค้าคิดถึงตัวจังเลย
การสื่อสารพูดคุยที่ฟังแล้วทำให้เรายิ้มไปทั้งน้ำตา กับความรักของพี่กับน้องที่มีให้กันและกันอย่างบริสุทธิ์ใจ
เรื่องราวของน้ำพุถูกเขียนขึ้นมาจากเรื่องจริง และถูกแจกจ่ายให้กับผู้คนได้อ่าน และหลายๆคนติดใจ จึงได้มีการนำไปตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจจะอ่านได้อ่านและรับรู้เรื่องราวพฤติพรรมของตัวตนน้ำพุ น้ำพุเป็นคนที่มีความคิดแตกต่างออกไป จิตใจที่เป็นลูกผู้ชายเต็มตัว ยิ่งเวลาอยู่กับเพื่อนแล้ว ยิ่งเต็มที่ ถึงไหนถึงกัน จนที่สุดก็ต้องเวียนวนเข้าหาสิ่งเสพติด และอยู่ในวงเวียงกับสิ่งเหล่านี้ จนเกือบปัญหาต่างๆตามมาจนเกือบจะแก้ไขไม่ได้ เพราะนิสัยชอบยั่วโมโหของน้ำพุ หรือจะเรียกว่าเป็นคนชอบพูดตรงๆก็เป็นไปได้
สาร
            สารของเรื่อง เรื่องของน้ำพุ’’ เป็นเรื่องราวชีวิตของหนุ่มน้อยที่ชื่อว่า น้ำพุ ที่มีความคิดแตกต่างและรู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อยทางครอบครัวจนได้มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม และเปลี่ยนไปในทางที่แย่ และหนังสือเล่มนี้ยังสื่อถึงความรักของผู้ที่เป็นแม่ ความรับผิดชอบในหน้าที่การงานและรับผิดชอบในหน้าที่ของความเป็นแม่ แต่หากว่าหน้าที่ของความเป็นแม่ก็อาจจะไม่ค่อยสมบูรณ์แบบมากเท่าที่ควรจะเป็นไป แต่อย่างไรก็ตามนั้น เนื้อหาในเรื่องก็สามารถสื่อให้เห็นถึงความรักที่แม่มีต่อลูก และความรักที่ลูกมีให้กับแม่ ความรักความผูกพันธุ์ และพฤติกรรมต่างๆที่สื่อให้เห็น ถึงบางครั้งอาจจะดูผิดแนวทางก็มีบ้าง แต่แล้วอย่างไรก็ยังคงมีเรื่องราวของความรักที่คอยซึมซับเข้ามาเรื่อยๆให้เราได้สัมผัสถึงความรักที่อาจจะดูไม่ลึกซึ้งถึงการแสดงออก แต่ความรักนั้นจะยังคงตราตรึงใจใครต่อใครไม่รู้ลืม
กลวิธี
      กลวิธีของการใช้ภาษาง่ายๆ แต่จะเน้นในการให้อารมณ์ที่สะเทือนใจในเนื้อหาเรื่องราวของน้ำพุ รวมถึงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ที่เพิ่มให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ไม่มีอะไรวุ่นวายให้ปวดหัวเกินความเข้าใจในการอ่านแถมยังให้เกิดอารมณ์คล้อยตามไปด้วย โดยเฉพาะคำนำที่นำเข้าสู่เนื้อหาด้านใน จุดเด่นของ เรื่องของน้ำพุ ที่ต้องการสื่อก็คือพฤติกรรมของเด็กหนุ่มวัยรุ่น          ที่ติดเพื่อน แล้วอยากรู้อยากเห็น และอยากลองจนเกิดกระบวนการขั้นตอนต่างๆตามลำดับ      ทั้งเหตุที่เกิดและผลที่ได้รับตามมา และทางออกที่ดี แต่สุดท้ายก็พบกับจุดจบที่ไม่ค่อยสวยงาม ซึ่งทั้งหมดของเนื้อเรื่องก็มีการบรรยาย และพรรณนาไปอย่างเรียบง่าย ไม่ต้องเพิ่มเติมอะไรมากมายให้ยุ่งยาก เพื่อความชัดเจนและเข้าใจตรงกัน จึงนำเอาเนื้อหาจากเรื่องราวจริงๆมาตีพิมพ์เป็นรูปเล่มต่อๆไป
บทวิจารณ์
            นวนิยายเรื่องของน้ำพุ ที่สื่อให้เห็นถึงความผูกพันธุ์ของแม่ลูกและชีวิตครอบครัว นันทขว้างหรือสุคนธาที่เขียนขึ้นและถูกตีพิมพ์ จนเป็นตราตรึงใครต่อใครหลายๆคนที่คอยบ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาต่างๆและพฤติกรรมของลูกที่เราอาจจะไม่คาดคิด คือ
            เรื่องบางเรื่องในชีวิต สุดท้ายคนตัดสินใจคือตัวเราเอง พ่อแม่เป็นคนให้กำเนิด แต่เราก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกทางเดินของเราเอง ในเรื่องน้ำพุ น้ำพุตามใจแม่โดยการไปเรียนตามที่แม่ต้องการให้เรียน ทั้งที่ตนไม่ชอบ สุดท้ายก็ต้องขอแม่กลับมาเรียนที่ตนอยากเรียนไม่ควรทำอะไรตามใจเพื่อน การเลือกคบเพื่อน ควรเลือกคบเพื่อนที่ดี ไม่คบเพื่อนที่เกเร ควรรู้จักปฏิเสธในสิ่งที่คิดว่า ไม่ดี เช่น การพนัน ยาเสพติด ฯลฯ ควรชักจูงเพื่อนให้กลับมาในทางที่ถูก ในเรื่องนี้น้ำพุเลือกคบเด็กเกเร และไปเสพยาตามเพื่อนแทนที่จะชักจูงกลับมาในทางที่ถูก ทำให้เสียทั้งเวลาและอนาคต
ครอบครัวต้องให้ความอบอุ่นและปรับตัวเข้าหากัน ในเรื่อง น้ำพุเป็นผู้ชายคนเดียวในบ้าน ซึ่งน้ำพุปรับตัวไม่ได้ ทำให้เกิดความว้าเหว่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้หันไปพึ่งยาเสพติด เมื่อมีปัญหาร้ายแรงไม่ควรคิดแก้ปัญหาด้วยตัวคนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ในเรื่อง ตอนแรกน้ำพุคิดจะไปถ้ำเขากระบอกโดยไม่บอกแม่ สุดท้ายหาเงินไม่ได้จึงกลับมาสารภาพ
ควรให้โอกาสคนกระทำความผิดกลับตัว ไม่มีใครเลวมาตั้งแต่เกิด ไม่มีใครที่อยากทำความผิด เมื่อคนผิดสำนึกตัวก็ควรให้โอกาส น้ำพุรู้ว่าตนทำผิดจึงไปสารภาพกับแม่ ซึ่งแม่น้ำพุก็ให้เงินเพื่อไปรักษาตัวที่ถ้ำเขากระบอก ตำบลขุนโขลน อำเภอพระบาท จังหวัดสระบุรี ซึ่งยาเสพติดไม่ใช่สิ่งที่ดี การริอาจลองกับมันมีแต่ทำให้เสีย ไม่ว่าจะเป็นเสียเวลา เสียเงิน เสียอนาคตของตัวเอง ยังพลอยทำให้คนรอบข้างคนและคนในครอบครัวเสียใจไปด้วย
สรุป
        น้ำพุ เด็กที่เกิดในครอบครัวที่แตกแยก ทั้งพ่อและแม่ก็เป็นศิลปินทั้งคู่ เมื่อน้ำพุโตขึ้นจึงเดินทางผิด คิดลองสิ่งเสพติด ยิ่งเมื่อแม่มีสามีคนใหม่ จึงเป็นตัวเร่งให้เขาเริ่มแปลกแยกจากครอบครัว บวกกับการที่เขาเลือกคบเพื่อนที่เสพยา จนติดยาหนัก แก้วเพื่อนสนิทของน้ำพุทราบ ทำให้น้ำพุเสียใจมาก จึงตัดสินใจบอกแม่และครอบครัว เดินทางไปวัดถ้ำกระบอกกับเพื่อนเพื่อเลิกยา แต่เมื่อเขากลับมาบ้านอีกครั้ง เขากลับไม่ได้รับการต้อนรับอย่างดีเท่าที่เขาคาดหวัง จึงเกิดความรู้สึกน้อยใจตามประสาวัยรุ่น จึงฉีดเฮโรอีนเกินขนาดจนถึงขั้นเสียชีวิต           
ซึ่งนวนิยายความผูกพันธุ์ของแม่ลูกและชีวิตของครอบครัว “นันทขว้าง หรือ
สุคนธา” หรือที่กลายมาเป็นภาพยนตร์ในชื่อเรื่องว่า “เรื่องของน้ำพุ” อันโด่งดังนั้น คุณสุวรรณี
สุคนธา เขียนงานวรรณกรรมชิ้นนี้โดยได้ดัดแปลงจากหนังสือที่พิมพ์แจกในงานศพของ น้ำพุบุตรชายสุดที่รักของเธอเพียงคนเดียวเอง ด้วยการนำเอาจดหมายทั้ง ๑๐ ฉบับของ น้ำพุที่เขียนมาถึง แม่ในช่วงระหว่างที่เขาไปรับการถอนพิษยาที่ สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก ตำบลขุนโขลน อำเภอพระบาท จังหวัดสระบุรี

เรื่องราวของน้ำพุก็ได้นำไปสร้างภาพยนตร์เรื่องพระจันทร์สีน้ำเงินซึ่งได้กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิท ออกฉายประมาณกลางปี ๒๕๒๗  อำพล ลำพูน รับบทเป็น “น้ำพุภัทราวดี มีชูธน รับบทเป็น สุวรรณี สุคนธา  มี แก้ว” เพื่อนหญิงวัยน่ารักของน้ำพุ รับบทโดย วรรษมน วัฒโรดม คงไม่ต้องกล่าวอะไรไปมากกว่านี้ว่า เมื่อเป็นภาพยนตร์แล้วจะได้รับความนิยมมากมายเพียงใด ในเมื่อทุกโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศต่างแน่นขนัดไปด้วยผู้ชมที่ต่างก็อยากเข้าไปชมภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นจากชีวิตจริงๆ ของครอบครัวๆ หนึ่งที่เอาชีวิตของคนทั้งครอบครัวมาเป็นตัวอย่างและถ่ายทอดออกมาเป็นวรรณกรรมและภาพยนตร์ได้อย่างซาบซึ้งอารมณ์จนเป็นที่กล่าวขานกันมากที่สุดแห่งยุคและเป็นความประทับใจที่ไม่รู้เลือน

วิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องพระลักพระลาม

วิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องพระลักพระลาม
                เรื่องพระลักพระรามนี้แพร่หลายน้อยกว่าวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานอื่นๆ  แต่เป็นเรื่องที่มีลักษณะโดดเด่นหลายประการ  จึงหยิบยกมาเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ครั้งนี้  คือพบต้นฉบับในภาคอีสานมีอยู่  ๒  สำนวน  คือสำนวนที่เป็นร้อยแก้วและสำนวนที่ประพันธ์เป็นโครงสาร  ฉบับสำนวนร้อยแก้วนั้นมีความยาวมาก  และเนื้อเรื่องถูกปรับปรุงให้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นบริเวณลุ่มน้ำโขง  อธิบายเชิงตำนานเกี่ยวกับสถานที่  ชื่อบ้านนามเมืองแถบแม่น้ำโขง  คือภาคอีสานและล้านช้าง  นอกจากนี้ยังดำเนินเรื่องตามแนวของชาดกและกล่าวว่าพระลามคือพระโพธิสัตว์ชาติหนึ่ง  ที่ต้องมาเกิดใช้หนี้และปราบปรามอธรรม
                ส่วนฉบับสำนวนโครงสารที่จะนำมาวิเคราะห์  มีการปรับปรุงเนื้อเรื่องให้ต่างไปจากรามเกียรติ์  ฉบับภาคกลางอย่างมาก  และมีแนวโน้มจะใกล้เคียงกับเรื่อง “พรหมจักร” (รามเกียรติ์ฉบับภาคเหนือ)  แต่ชื่อบ้านชื่อเมืองก็ปรับให้เข้ากับดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง  เช่น  พระลามครองเมืองศรีสัตนาถ  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังพบว่าในภาคอีสานยังมีวรรณกรรมพื้นบ้านที่มีเนื้อเรื่องคล้ายคลึงกับพระลักพระลามอีก  คือเรื่องหัวละมาน  (หนุมาน)  และเรื่องพระกึดพระพาน  (เนื้อเรื่องตอนต้นเป็นเรื่อง  อุณรุท  ตอนปลายเป็นเรื่องรามเกียรติ์)  แต่ส่วนที่เป็นโครงเรื่องย่อยนั้นแตกต่างกันมาก  แสดงให้เห็นความอิสระของกวีพื้นบ้านอีสานที่ปรับปรุงแก้ไขเนื้อเรื่องเดิม  (รามยณะ  ฉบับอินเดีย) ให้เข้ากับทัศนะและภูมิสถานของชาวอีสาน
                หากพิจารณาเรื่องรามเกียรติ์ฉบับภาคเหนือ  พบว่ามีการปรับเปลี่ยนเรื่องรามเกียรติ์มาเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือเช่นเดียวกัน  นั้นคือภาคเหนือมีเรื่องคล้ายๆ กันอยู่ ๓ เรื่อง  คือ  เรื่องพราหมจักร (พรหมจักร –  พระราม, พระยาวิโรหาราช ทศกัณฐ์ )  เรื่องหอรมานชาดก   (พระราม พระราม ราพณาสูร  ทศกัณฐ์ )  และเรื่องอุสาบารส  วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือทั้งสามเรื่องข้างต้นนี้  ประพันธ์เป็นแนวชาดกทั้งสิ้น  ซึ่งเมื่อเทียมกับวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานทั้งสามเรื่องดังกล่าว  พบว่าประพันธ์เป็นแนวชาดกเรื่องพระลักพระลาม  ฉบับสำนวนร้อยแก้ว  ส่วนพระลักพระลามฉบับสำนวนโคลงสารกล่าวว่าพระโพธิสัตว์มาเกิดใช้ชาติเป็นพระลาม  แต่มิได้ดำเนินเรื่องตามแนวชาดกอย่างเคร่งครัดนัก  ส่วนเรื่องหัวละมาน  ก็เช่นเดียวกัน  แต่เรื่องพระกึดพระพาน  (พระกฤษณ  พระพาน)  ดำเนินเรื่องตามแนวชาดก
                อีกประการหนึ่งเรื่องพระลักพระลามฉบับโครงสารนี้  มีโครงเรื่องย่อยต่างไปจากเรื่องรามเกียรติ์มาก  และสำนวนโวหารเด่นมาก  จึงได้นำมาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นการปรับปรุงวรรณกรรณของกวีพื้นบ้านและเห็นการแพร่กระจายของเรื่องรามายณะในท้องถิ่นต่างๆ  ของไทยอีกด้วย
                ต้นฉบับ  พระอริยานุวัตร  (อารีย์  เขมจารี)  วัดมหาชัย  อ.เมือง  จ.มหาสารคาม  ได้ถอดจากต้นฉบับใบลานอักษรไทยน้อย  มูลนิธิเสถียรโกเศศ นาคะประทีป  จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ  พ.. ๒๕๑๘ ความยาว ๑๓๓  หน้า  ตามคำนำกล่าวว่าได้ต้นฉบับมาจากวัดเหนือ  อ.เมือง  จ.สกลนคร
                ไม่ปรากฏผู้ประพันธ์  แต่พบเนื้อความเริ่มต้นบอกความในใจของผู้ประพันธ์  ดังนี้
0  อ้ายนี้       หากอุณโหร้อน                                    ในทรวงแค้นคลั่ง  เจ้าคำเอย
จึงได้             แรงกล่าวเว้า                                         ประเหียนก้อยกิ่งเดียว
พอให้           สว่างร้อน                                              ในแห่งหือระทัย  พี่แม
                       พอให้หาย                                             สว่างใจปาบน้ำ
บ่กว่า             ปัญญาแม้ง                                            สิหลิงเห็นตรัสส่อง  เอาท่อน
ไว้แก่             สาวพี่น้อง                                             คนิงรู้ทุกคน
อ้ายนี้            บ่แม่นชายถ้าน                                     ในชลแคมท่า
ต่างหากแม่นชาย  คำซาวหล่อเลี้ยง                       ในบ้ายอดคำ
(ความว่า กวีเร้าร้อนในอก  จึงได้เล่าเรื่องเก่าเล็กน้อย  เพื่อให้คลายความรำคาญใจ  ใจเย็นปานน้ำไม่เหลือปัญญาหากปรารถนาจะเห็น  (ธรรม)  เพื่อให้สาวพี่น้องทุกคน  (ได้อ่าน)  พี่นี้ไม่ใช่ชายเสเพล (ริมท่าน้ำ)  หากเป็นชายทองค่ายี่สิบในเพศสมณะ (หล่อเลี้ยงในเบ้ายอดคำ)
                หากพิจารณาโครงเรื่องพระลักพระลามฉบับอีสานกับรามเกียรติฉบับอื่นๆ  ของภาคอื่นๆ  จะพบว่าโครงเรื่องพระลักพระลามจะใกล้เคียงกับเรื่อง พรหมจักร”  (รามเกียรติฉบับภาคเหนือ)  มากที่สุด  เพียงแต่ชื่อตัวละครแตกต่างกัน  เช่น  ฉบับภาคเหนือเรียก  พระรามว่า - พรหมจักร    พระลักษณ์ว่า - รัมมจักร   ทศกัณฐ์
มหากาพย์รามายณะเดินทางมาจากอินเดียข้ามาในดินแดนในเอชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้ประเทศต่างๆไม่ ว่าจะเป็นมาเลซีย อินโดนีซีย พม่า ไทย ลาว ขมร ล้วนมีนิทานและวรรณกรรม การแสดงที่ดัดแปลงมาจากมหากาพย์รามายณะ ทั้งสิ้น วัฒนธรรมอินเดียย่อมมีความแตกต่างกับวัฒนธรรมในภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงใต้ วรรณกรรมที่มาจากวัฒนธรรม อินเดียจึงย่อมต้องการปรับเปลี่ยนให้ข้ากับวัฒนธรรมความชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นในภูมิภาคนี้ (ศิราพรณถลาง,2552)
พระลักพระลามสำนวนที่อ่านและรู้จักแพร่หลายในหมู่ชาวอีสานเนื้อรื่องส่วนใหญ่คล้ายรามเกียรติ์ฉบับภาษาไทยกลาย มีต่างกันบ้างในรื่องชื่อตัวละครและภูมิศาสตร์ในท้องรื่องช่นพระลักพระลามเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีสัตตนาคนหุตส่วนชื่อ ตัวละครที่เปลี่ยนแปลงไปได้แก่หนุมาเป็หุลละมาทศกัณฑ์เป็พญาฮาบมะนาสวนทรพีเป็ทัวระพีสุครีเป็สังคีบ พาลีเป็นพะลีจันทน์(จารุวรรณธรรมวัตร,2522) พระลักพระลามสำนวนอีสานเป็นรื่องที่มีความยาวเป็นอย่างมากแต่ว่าผู้ปริวัตรได้จัดเหตุการณ์สำคัญของรื่องเป็นตอนเพื่อให้เห็นการดำเนินรื่องระหว่างเหตุการณ์อย่างชัดจนโครงรื่องสำคัญมีน้อย แต่ว่าเหตุที่ทำให้พระลักพระลามสำนวนลาวมีความยาวนั้น เพราะว่าผู้แต่งรจนาแบบบรรยาย โดยได้อธิบายอย่างกว้างขวาง ถึง ชื่อสถานที่ ภูขา ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร สรรพสัตว์นานาชนิด ฮีตครองประเพณีของลาวเผ่าต่างๆ การสงคราม คำกลอน คำผญาสุภาษิตต่างๆ  และโครงรื่องในศาสนาพุทธ  พรหมโลก  โดยแต่งรื่องเป็นแบบชาดก  (สัจจิดานันดะ  สะหาย, 1973)
ธวัช ปุณโณทก (2525) กล่าวถึงความคิดเห็นของพระอริยานุวัตร ต่อพระลักพระลามฉบับร้อยแก้ว ว่าโครงรื่อง อาจจะนำมาจากรื่องรามายณะจริงแต่มีการแก้ขปรับปรุงอย่างมากจนเกือบจะไม่คงเนื้อความเดิมเลยโดยเฉพาะฉากท้อง รื่องกวีได้สร้างขึ้นในดินแดนลุ่มน้ำขงนี้เองและได้นำเนื้อรื่องมาสัมพันธ์กับชื่อบ้านนามเมืองในดินแดนแถบลุ่มน้ำขงนี้ป็นลักษณะตำนานชื่อบ้านนามเมือง  กล่าวคือชื่อบ้านนามเมืองเหล่านี้เกิดจากพระลักพระลาแล้วช้รียกชื่อมาจนถึงทุกวันนี้ฉะนั้นแสดงว่ากวีได้รับโครงรื่องมาผสมผสานกับความชื่อรื่องชื่อบ้านนามเมืองในดินแดนลุ่มแม่น้ำสร้างเป็นพระลักพระลามขึ้นมา
สรุป
วรรณกรรมเรื่องพระลัก-พระลามได้ต้นเรื่องไปจากรามายณะของอินเดียแต่ได้ปรับให้เข้ากับท้องถิ่นลุ่มน้ำโขง ในเรื่อง พระลัก-พระลามจะบรรยายถึงแม่น้ำโขง สภาพบ้านและเมืองที่อยู่ริมน้ำโขงทั้งสองฝั่งว่ากำเนิดขึ้นมาอย่างไร เนื้อหาของวรรณกรรม พระลัก-พระลามสามารถแบ่งได้เป็น 2 ภาค ภาคแรกมีแก่นเรื่องอยู่ที่การลักพาตัวพี่สาวของพระรามโดยทศกัณฑ์ คือ ราวณะในฉบับอินเดีย และ ฮาบมะนาสวนในฉบับอีสานและลาว ส่วนภาคที่สองเป็นเรื่องของทศกัณฑ์ลักพาตัวนางสีดา 
เนื้อหาโดยสังเขป
รามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ลักนางสีดา ต้นเหตุของศึกทศกัณฐ์ เริ่มต้นจากนางสำมนักขาที่ไปหลงรักพระราม แต่ไม่ได้รักตอบ จึงวางอุบายนำกิตติศัพท์ความงามไปเล่าให้ทศกัณฐ์ฟัง ทศกัณฐ์อยากได้นางสีดามาเป็นมเหสี จึงคิดแผนให้มารีศแปลงร่างเป็นกวาง เพื่อหลอกล่อให้พระรามออกจากอาศรม จากนั้นจึงลักพานางสีดาไป พระรามได้ออกเดินทางไปช่วยนางสีดา ระหว่างทางพบนกสดายุที่โดนทศกัณฐ์ทำร้าย พบยักษ์กุมพลที่ต้องคำสาปช่วยบอกทางไปกรุงลงกา
จากเนื้อเรื่องข้างต้น  จะเห็นได้ว่า บทละครเรื่องนี้เหมาะแก่การอ่านเพื่อความเพลิดเพลินในแง่ของวรรณคดีมากกว่าการใช้เล่นละคร เพราะเรื่องยาวมีบทพรรณนาและสอดแทรกชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้น เช่น เวลามีงานนักขัตฤกษ์จะมีมหรสพฉลองเป็นต้นและยังได้สอดแทรกคติและคุณธรรมแก่ผู้อ่านเช่นความซื่อสัตย์ของนางสีดาที่มีต่อสามี ความกล้าหาญของพระรามและหนุมาน ความอกตัญญูของทรพี ความไม่มีศีลสัตย์ของทศกัณฐ์ เป็นต้นล้วนเป็นคติสอนใจให้แก่ผู้อ่านทั้งสิ้น  นอกจากนี้การเดินทางก็เป็นปัจจัยที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วย
ลักษณะคำประพันธ์
                เรื่องพระลัก-พระลาม  แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกลอนอ่าน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลอนเทศน์ หรือกลอนสวด ซึ่งเป็นการนำเอาคำกลอนมาแต่งเป็นเรื่องยาวๆ สำหรับอ่านสู่กันฟัง หรือใช้แต่งวรรณกรรมเรื่องยาวสำหรับเทศน์ สวด หรือเพื่อเป็นคติสอนใจ และเพื่อความบันเทิง กลอนอ่านในเรื่องพระลัก-พระลามนี้ เป็นกลอนอ่านอักษรสังวาส ลักษณะคำประพันธ์ประเภทกลอนอ่านสังวาส  ที่ปรากฏให้เรื่องพระลัก-พระลาม มีลักษณะดังนี้คือ
๑.      กลอนอ่านแบ่งเป็นบท บทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคหนึ่งประกอบด้วยจำนวนคำตั้งแต่ ๗-๑๐ คำ บทในกลอนอ่านมี ๒ ชนิด ได้แก่ บทเอก และ บทโท
 บทเอก บทหนึ่งมี ๒ วรรค มีเสียงเอกกำกับ ๓ ตำแหน่ง เสียงโท ๒ ตำแหน่ง เสียงเอกจะปรากฏในคำที่ ๒,๔ ในวรรคที่ ๑ และคำที่ ๔ ในวรรคที่ ๒ เสียงเอกอาจใช้คำตายแทนได้ เสียงโท จะปรากฏในคำที่ ๓ วรรคที่ ๑ และคำที่ ๗ วรรคที่ ๒ ตำแหน่ง เอกโทบางครั้งก็ไม่ตายตัว อาจจะเลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งถัดไปได้

ตัวอย่างบทเอก
“บัดนี้ จักก่าวถึงผู้                                ผ่านพื้นพญาใหญ่ทัวระพี   ก่อนแล้ว
มันก็ทงกำลังแฮง                                เกิ่งสารแสนช้าง 
                บทโท  หมายถึงบทที่มีวรรณยุกต์โทกำกับ ๓ ตำแหน่ง วรรณยุกต์เอก ๓ ตำแหน่งเท่ากัน แต่ระดับเสียงโทจะขึ้นก่อน เสียงเอกจะปรากฏในคำที่ ๓ วรรคที่ ๑ และคำที่ ๓,๕ ในวรรคที่ ๒
ตัวอย่างบทโท
“บัดนี้  กูหากมาตอพอยแท้               ฅนเดียวพัดพ่อ  กูแล้ว
                                                                แม่หากมาบ่เลี้ยง                  บายกิ้มทอดเสีย  นี้เค
๑.      กลอนอ่าน อาจมีคำเสริม คำสร้อยได้อีกวรรคละ ๒-๔ คำ
                                คำเสริม  เป็นคำที่เสริมหน้าวรรค  เพื่อให้ได้ความหมายชัดเจน เช่น อันว่า,แต่นั้น,เมื่อนั้น,โอนอ เป็นต้น  “แต่นั้น  สาวก็แผๆ ด้านคำเสน่ห์สวยเสียด”         “บัดนี้ เฮาก็จะเจรจาต้านคำดูก่อน”
                                คำสร้อย  เป็นคำที่เสริมเข้ามาในตอนท้ายวรรค เช่นคำว่า นี้เด,แท้แล้ว,พุ้นเยอ,แท้นอ เป็นต้น  “มาบ่กูณาโผดผายตัวข้อย  นี้เด”      “เขาก็มาชมชื่นเฝ้ามาท้าวแกว่างวี  แท้แล้ว
       ๓. การเขียนวางรูปคำสำหรับกลอนอ่านในวรรคหนึ่งๆ นั้น อาจแบ่งเป็นตอน หน้า ๓ คำ หลัง ๔คำ ดังแสดงแล้วในผังข้างต้น หรืออาจเขียนติดต่อเป็นวรรคเดียวก็ได้   ในเรื่องพระลัก-พระลาม จะเขียนติดต่อเป็นวรรคเดียวกัน ไม่มีการแบ่งคำ เช่น
                                บัดนี้ จักได้เล่าพากพื้นกาลก่นปฐม ก่อนแล้ว ตั้งพากเป็นนิทานแต่กาลปฐมเค้า ปางก่อน
พุ้นพญาฮาบมะนาสวน พระก็ทรงลักกาเกิ่งเมืองสวรค์เมืองฟ้า นักสนมล้นบริวารอนันต์เนก  นับโคบฝาลายต้อง ฮองๆ เหลื้อมเสาร์สูงผาสารท
๔. กลอนอาจไม่มีการส่งสัมผัสระหว่างวรรค หรือระหว่างบท จะอาศัยจังหวะในการเป็นสำคัญเช่น
                                แต่นั้น เตโชแก้วหุลละมานแถลงก่าว
                                ข้านี้จะทูตให้พระลาม เจ้าแต่งมา พระเอย
                                พระก็เคืองพระทัยด้วยเทวีนางนาถ
                                พระก็ไปขาบไหว้รัสสีเจ้าปูกแปง
                                พระลามก็เอานางแก้วสีดายัวระยาด
                                ฮอดเขตด้าวดงกว้างฮึบเซา
  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑,,๓ได้ได้ส่งสัมผัสไปยังคำที่๑,,หรือ ๓ในวรรคที่ ๑,,และ ๔เรื่องพระลัก-พระลาม จะไม่มีการสัมผัสระหว่างบทหรือสัมผัสระหว่างวรรคเลย
ว่า-พระยาวิโรหาราช สุครีพ พระยากาสี พาลี- พระยากาวินทะ หนุมาน- หอรมาน ฯลฯ ส่วนโครงเรื่องนั้นคล้าย คือพระยาวิโรหาราชไปเป็นชู้กับนางสุธัมมา มเหสีของพระอินทร์เช่นเดียวกัน มีบางส่วนต่างกัน เช่น หนุมานเป็นลูกของพระยากาวินทะกับนางวานร ไม่ใช่เป็นลูกพระรามเหมือนฉบับอีสาน และยังมีส่วนปลีกย่อยแตกต่างกันอีกบ้าง ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่ากวีพื้นบ้านของไทยทั้งภาคเหนือ อีสานต่างก็มีอิสระในการปรับเปลี่ยนโครงเรื่องวรรณกรรมเรื่อง รามายณะตามทัศนะของตน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก
สำนวนโวหาร
                     สำนวนโวหารในเรื่องพระลักพระลามนับว่าเป็นสำนวนที่ดีเด่นเรื่องหนึ่งของวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน แม้ว่าจะไม่แพร่หลายเหมือนวรรณกรรมนิทานเรื่องอื่นๆ เช่น สินไซ กาละเกด จำปาสี่ต้น นางผมหอม ก็ตาม
                      การดำเนินเรื่องตามแนวนิทาน นั่นคือเล่าตามลำดับเหตุการณ์ และบางครั้งมีการเปลี่ยนฉากสถานที่และเหตุการณ์ก็แจ้งไว้ชัดเจน สำนวนโวหารโดยทั่วไปกวีจะเน้นเรื่องอรรถรสไม่น้อยยังจะยกตัวอย่างต่อไป
                    ๑.) พรรณนาฉาก กวีได้พรรณนาฉากสถานที่ ชมดงพงพี โดยกล่าวถึงชื่อไม้ สัตว์ นก ตามจินตนาการของกวี เพื่อให้เกิดภาพพจน์และเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในเรื่องดำเนินเรื่อง นอกจากนี้กวียังได้ชมความงามสตรี อันเป็นความงามในอุดมคติของชาวอีสานในสมัยอดีต ที่เห็นว่าสตรีงามนั้นน่าจะต้องมีรูปลักษณ์ เช่นนางสีดาจันทะแจ่ม ซึ่งกวีก็ได้พรรณนาไว้ ดังนี้
พระก็           หลิงย่ำเยี่ยม               ค่วงฟ้าซูภาย                       หลิงล่ำ–มองดู ,ค่วง- บริเวณฟากฟ้า               
    ท้าวก็หลิงดู    ดาวแม่ร้าง              แกมหมู่ฝูงสาว    
                                              ดาวผีโพง               อยู่แกมดาวม้า                      ผีโพง – ผีกระสือ
อันว่า             ดาวพ่อค้า               เดินเที่ยวขายของ
หลินดู           ดาวช้างน้อย            นอนแนบเทียมแม่                เทียม – คู่เคียง
                      ดาววีซ้อน              ดาวค่างแฝงพ่างกันนั้น        วี – พัด
                      ดาวอัศวะนีซ้อน     ภรณีในเมฆ
                      ดาวช้างนั้น              เมืองฟ้าฝ้ายเหนือ
มีทั้ง              ดาวโรหินีพร้อม      กติกาแฝงคู่พุ้นเยอ                พุ้นเยอ – โน้น
มีทั้ง              ดาวรูปม้า                 ทยานเต้นอยู่โรง
                     ดาวมิดสีระ              อัทธะโสดสมสอง
มีทั้ง              ดาวสะเภาหลวง       เบิกกระโดงเทิงฟ้า                เทิง – บน , ข้างบน
                                        บุพพะสุระสร้อย       ปุสสะเคียงคู่
                    ๒) พรรณนาความงามของดวงดาว ในเรื่องพระลักพระลาม พบสำนวนพรรณนาที่แตกต่างไปจากวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องอื่นๆของอีสาน  นั่นคือมีการพรรณนากลุ่มดาวต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากวีมีความรู้เรื่องกลุ่มดาว และดาวนักษัตร วึ่งมีชื่อเรียกต่างกับภาคกลางอยู่ไม่น้อย ดังนี้
     0 เมื่อนั้น     พอเดิกเดิกแล้ว          เถิงแถใกล้สิรุ่ง                      * เดิก - ดึก, แถ - แยดใกล้
                         ผ่อดู         เสดกาท้าว                 เรืองเข้าร่วมกัน                       ผ่อ – ดู – เห็น
                                           ดามมาฆะท้าว            เสด็จด่วนแกมมาพุ้นเยอ
                                           เบิ่งดาวบุปผา             แล่นมาเรียงซ้อน
                                           ดาวปะหัดย้าย            แกมเลาน้ำหลั่ง                        ปะหัด – พฤหัส
           ดาวจิตตะโยกย้าย       เรียงซ้อนร่วมสะนอน             สะนอน – นอน
           ดาวีซ้อน                    ดาวค่างหนักเหนื่อย                …. ฯลฯ….
0 แต่นั้น      กาลเหิงนานได้          สิบสองปีสอนใหญ่                     * เหิง – นาน
                       นางก็         งามยิ่งแท้                   คือป้องแปลกเขียน
                       พระจึง       หาชื่อน้อย                 สีดาจันทะแจ่ม         
                       เทื่อว่า        งามยิ่งย้อย                 พระอินทร์แต้มแต่งลง             เทื่อ –  ที , ครั้ง
                       อันว่า         ตาเคี่ยมคิ้ว                 คือลวดวรรณคำ                       เคี่ยม – คม , คมขำ
                                         ผิวพ่างสุก                  ยิ่งงามเลาอ้วน
                                         แขนกลมส้วย            ตีนผมเสมอเสี้ยน                     ส้วย – เรียว
                                      คีงอ่อนเพียง              ปานฝ้ายดีดผง                           คีง – ตัว , ร่างกาย
                                      อระใหม่เนื้อ              กลมพระกายเอากิ่ว
                                      นิ้วแลบน้อย              กลมส้วยดั่งเทียน
                                         เจาะเบาะหน้า           นมงามคือเสี้ยน                         เจาะเบาะ – คำขยายของงาม
                                         ผมเกศเกล้า               งามย้อยฮอดดิน                        ฮอด – ถึง , จรด
                                           ดังหากลักษณ์พร้อม  โสมงามถีกโสลก                     โสม – โฉม , ถืก – ถูกต้อง
                     ยามเมื่อ       ปากจาต้าน                 หัวแล้วจึงจา                             จาต้าน – พูดคุย , จา – เจรจา
                                          …..ฯลฯ
ทัศนะต่อสังคม
วรรณกรรมอีสานเรื่องพระลักพระลาม ดูเหมือนให้ความสำคัญต่อการปกครองไม่น้อย นั่นคือพยายามในแนวคิดเรื่องผู้มีอำนาจในบ้านเมืองควรจะให้ความเป็นธรรมแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฏร์ มิควรจะเห็นประโยชน์สุขส่วนตัวเป็นที่ตั้ง โดยนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาเป็นแกนนำของการปกครอง นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ย่อมอยู่กันเป็นครอบครัว ทั้งหญิงและชายย่อมต้องอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน สังคมจะขาดเพศใดเพศหนึ่งไม่ได้ อันเป็นโลกทัศน์ของคนไทยทั่วไปนั่นเอง
อิทธิพลของวรรณกรรมที่มีต่อสังคมไทย
เนื้อเรื่องมีความสนุกสนาน ประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์และสอดแทรกคุณธรรมไว้ อีกทั้งอุปนิสัยของตัวละครก็สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย เช่น นางสีดาเป็นแบบแผนของหญิงที่มีความชื่อสัตย์ต่อสามี พระรามเป็นแบบแผนของลูกที่ดี  มีอิทธิพลต่อสังคมไทยดังนี้
๑. ด้านภาษาและวรรณคดี  มีสำนวนที่พบหลายสำนวน เช่น ลูกทรพี เหาะเกินลงกา สิบแปดมงกุฎ ราพณาสูร ตกที่นั่งพิเภก เป็นต้น
๒. ด้านศิลปกรรม ก่อให้เกิดแรงดลใจให้จิตรกรนำเรื่องราวไปวาดภาพตามฝาผนังโบสถ์ วิหาร
๓. ด้านนาฏศิลป์ เรื่องนี้นิยมนำมาแสดงโขน ละคร หนังใหญ่ จึงนับว่ามีอิทธิพลต่อนาฏกรรมไม่ใช่น้อย
๔. ด้านประเพณี ให้ความรู้เกี่ยวกับด้านประเพณีต่างๆโดยเฉพาะพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีวิวามงคล พระราชพิธีราชาภิเษก พิธีปล่อยม้าอุปการ การยกทัพ เป็นต้น